วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนรู้แบบ Brain-Based Learning (BBL)




          เป็นการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองไปใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล  เซลล์สมองจะถูกสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 3-6 เดือนแรก  จนถึง1เดือนก่อนคลอด  ช่วงนี้สมองบางส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกทำลายไปซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า  “พรุนนิ่ง(Pruniny)” และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเด็กเล็กและช่วงวัยรุ่น ทั้งนี้หลักการพัฒนาเซลล์สมองขึ้นอยู่กับ  2 ส่วน คือ


           1.ธรรมชาติที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษได้แก่  พันธุกรรม

           2.สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น  อาหาร  อารมณ์  การฝึกฝนใช้สมอง

แนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING

สำหรับโรงเรียน

         1.จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ  กระตุ้นการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์ที่มีสี รูปทรง สถาปัตยกรรม สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง(ไม่ใช่ครูออกแบบให้) เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ

         2.สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน  เช่นที่ว่าง ๆ สำหรับกลุ่มเล็ก  ซุ้มไม้  โต๊ะหินอ่อนใต้ต้นไม้  ปรับที่ว่างเป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์  จัดสถานที่ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม

         3.จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์

       4.ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรียนที่ไหนก็ได้  เช่น บริเวณเฉลียง  ทางเชื่อมระหว่างตึก  สถานที่สาธารณะ

         5.เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย  ลดความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนเมือง

         6.จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง  สี  แสง ช่อง  รู

         7.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายจะกระตุ้นการทำงานของสมอง  เช่น  เวทีจัดนิทรรศการซึ่งควรเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ
  
        8.จัดให้มีวัสดุต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้  พัฒนาการต่าง ๆของร่างกาย  มากมายหลากหลายและสามารถนำมาจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้ที่มีความคิดใหม่ ๆ โดยมีลักษณะบูรณาการไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ  เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่หลากหลาย9.กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น  เหมาะสมกับสมองของแต่ละคนและสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป

         9.จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

        10.จัดให้มีที่ส่วนตัว  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน  จัดสถานที่ส่วนตัวของตนและสามารถแสดงความคิด  สร้างสรรค์ของตนได้อย่างอิสระ

        11.ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด สนามเด็กเล่นในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต  นำเทคโนโลยี  การเรียนทางไกล   ชุมชน  ภาคธุรกิจ  บ้าน  ต้องนำเข้ามามีส่วนและเป็นทางเลือกในการเรียนรู้              
 
            สำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัย   ซึ่งถือว่าเป็นช่วงแรกของการเรียนรู้ทุกโรงเรียนสามารถทำแนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNINGไปปรับใช้เตรียมการได้  จะเห็นว่าแนวทางหลายอย่างปฐมวัยจัดอยู่แล้ว  คือ 6 กิจกรรมหลักในกิจกรรมประจำวัน  ส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว  ซึ่งผู้บริหาร  ครู  ผู้สอนควรส่งเสริมและเน้นให้จริงจัง  เพราะเป็นนโยบายระดัชาติ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ BBL

1.จัดตกต่างห้องเรียนให้มีสีเขียว  เหลือง  เป็นส่วนใหญ่

2.ห้องเรียนและบริเวณรอบๆห้องเรียนมีต้นไม้ร่มรื่น

3.จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมกัน  กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

4.จัดให้มีสถานที่  อุปกรณ์ต่าง ๆอยู่ในสภาพปลอดภัย

5.จัดให้มีการเรียนรู้จากของจริง  ประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาททั้ง 5(การมองเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การได้ชิม  การสัมผัส)

6.จัดให้เด็กได้ฟังเพลงกล่อมเด็ก  เพลงคลาสสิค  ฟังนิทาน  อ่านหนังสือให้เด็กฟัง

7.จัดให้เด็กได้เล่น  ฝึกกับเครื่องเล่นที่มีเสียงดนตรี  อย่างสม่ำเสมอ

8.จัดให้เด็กได้สัมผัสกับศิลปะ

9.จัดให้มีของเล่นที่มีรูปทรง  สี  อย่างหลากหลาย

10.จัดให้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายทุกวัน

11.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เช่น  การจัดห้องเรียน  จัดนิทรรศการ ฯลฯ

12.การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อยๆจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง

13.จัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  ยืดหยุ่นตามความแตกต่างของผู้เรียน  ยาก  ง่าย ตามสภาพของผู้เรียน

14.จัดให้มีที่เก็บอุปกรณ์และผลงานเป็นส่วนตัวของเด็กแต่ละคน

15.จัดให้มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน  เช่น เชิญเป็นวิทยากร  ร่วมกิจกรรมวันสำคัญของชุมชน ฯลฯ

สรุปจากบทความ 
            การเข้าใจเรื่องสมอง  การพัฒนาสมองถูกจังหวะวิธี  ครู ผู้ปกครองที่เข้าใจเด็กมีส่วนช่วยเด็ก  ให้มีศักยภาพ  มีความสามารถอย่างที่ควรจะเป็นควรจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด  อบอุ่นกับเด็ก,มีการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย  มีโอกาสได้เล่น และ มีการกระตุ้นการเรียนรู้ที่เหมาะสม 



อ้างอิงจาก  http://jawmodem.multiply.com/journal/item/76

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น